โครงสร้างพื้นฐาน เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
ในอดีตการคมนาคมจังหวัดสมุทรสงคราม โดยทั่วไปอาศัยการคมนาคมทางน้ำ แต่ปัจจุบันมีทางหลวงแผ่นดินตัดผ่านในปี พ.ศ.2512 ทำให้สามารถติดต่อกับกรุงเทพฯ และ จังหวัดใกล้เคียงได้สะดวก ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้
การคมนาคมทางบก
ทางรถยนต์ มีทางหลวงแผ่นดินทั้งหมด 4 สาย ประกอบด้วย
เส้นทางหมายเลข 35 เป็นเส้นทางรถยนต์ สายธนบุรี - ปากท่อ ระยะทางจากกรุงเทพฯ - สมุทรสงคราม ประมาณ 65 กม.
เส้นทางหมายเลข 35 เป็นเส้นทางรถยนต์ สายสมุทรสงคราม - สมุทรสาคร ระยะทางประมาณ 32.50 กม.
เส้นทางหมายเลข 325 เป็นทางหลวงแผ่นดิน สายสมุทรสงคราม - ดำเนินสะดวก บางแพ เริ่มจาก กม.ที่ 28 ของถนนเพชรเกษตรผ่าน อ.บางแพ และ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ไปยัง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ระยะทาง 42 กม.
เส้นทางคมนาคม สายสมุทรสงคราม - ปากท่อ ซึ่งเป็นทางหลวงจังหวัดระยะทางทั้งสิ้น 20 กม.
ทางรถไฟ ปัจจุบันเป็นสายแม่กลอง - วงเวียนใหญ่ ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการสัญจร และขนส่งเสบียงอาหารของประชาชน การคมนาคมทางรถไฟ แบ่งเป็น 2 ตอน
จากสถานีแม่กลอง อ.เมือง ถึง สถานีบ้านแหลม อ.เมือง ระยะทาง 33.10 กม. แล้วลงเรือข้ามแม่น้ำท่าจีนไปขึ้นรถไฟตอนที่ 2 ที่สถานีมหาชัย จ.สมุทรสาคร
จากสถานีมหาชัย อ.เมือง ถึง สถานีวงเวียนใหญ่ ระยะทาง 33.80 กม.
การคมนาคมทางน้ำ
จังหวัดสมุทรสงครามมีแม่น้ำไหลผ่านทั้ง 3 อำเภอ เป็นระยะทางประมาณ 30 กม. ออกสู่ปากอ่าวแม่กลอง มีคลองเล็ก ๆ อีกประมาณ 300 คลอง การคมนาคมในจังหวัดจึงใช้เรือเป็นสำคัญ ซึ่งโดยมากได้แก่ เรือยนต์ เรือหางยาว เรือแจว และมีท่าเทียบเรืออีก 7 แห่ง การติดต่อกันระหว่างจังหวัดก็มีทางเรือ คือ
จังหวัดสมุทรสงคราม ถึง จังหวัดราชบุรี ใช้แม่น้ำแม่กลองเป็นเส้นทางคมนาคม
จังหวัดสมุทรสงคราม ถึง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ใช้เส้นทางทะเล
การขนส่งระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับกรุงเทพฯ นั้น แต่เดิมใช้ลำคลอง เช่น คลองแม่กลอง คลองภาษีเจริญ ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้เรือเดินทะเลขนส่งสินค้าขึ้นตามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีเป็นประจำทุกวัน